ศักยภาพในการผลิตและขายเหล็กในประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดว่าเป็นผู้นำเข้าและขายเหล็กสุทธิ ซึ่งถือว่าเป็นรายใหญ่ที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก แต่ยังตามหลังประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาอยู่ เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดในขณะนี้ ด้วยศักยภาพทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทย ส่งผลทำให้ปัจจุบันประเทศไทยกลายเป็นตลาดเป้าหมายของประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีและประเทศอื่นๆ ก็ตาม

เนื่องจากมีปริมาณความต้องการที่จะใช้และขายเหล็กที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันนั้น การผลิตกลับไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ ดังนั้นตลาดขายเหล็กในประเทศจึงมีภาวะการผันผวนไปตามตลาดเหล็กโลกทั้งในปริมาณและราคาที่ถูกปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการเหล็กของโลก

อุตสาหกรรมขายเหล็กและเหล็กกล้าจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

  • อุตสาหกรรมต้นน้ำ คือ อุตสาหกรรมเหล็กพรุน และเหล็กถลุง ซึ่งถือได้ว่าเป็นกระบวนการเริ่มต้นของอุตสาหกรรมเหล็กที่มีความสำคัญมากต่อศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ปัจจุบันสำหรับประเทศไทยยังไม่มีการจัดตั้งโรงงานผลิตเหล็กต้นน้ำขึ้น ซึ่งแต่เดิมนั้นแนวทางในการพัฒนาจะถูกกำหนดโดยความต้องการของตลาดภายในประเทศมากกว่าถูกกำหนดโดยนโยบายจากภาครัฐ ทำให้อุตสาหกรรมขายเหล็กถูกเริ่มต้นการพัฒนาจากปลายน้ำมากกว่าเริ่มต้นพัฒนาจากอุตสาหกรรมต้นน้ำ เพื่อที่จะใช้ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
  • อุตสาหกรรมกลางน้ำ เป็นขั้นตอนที่นำผลิตภัณฑ์จากการผลิตขั้นต้น ทั้งในส่วนที่เป็นของแข็ง ของเหลว และเศษเหล็ก มาหลอมเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติและส่วนผสมทางเคมีให้ออกมาเป็นเหล็กกล้า สำหรับในประเทศไทยผู้ผลิตขั้นกลางทุกรายจะใช้การผลิตด้วยเตาอาร์คไฟฟ้า โดยจะใช้เศษเหล็กเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต นอกจากการผลิตและขายเหล็กกล้าแล้วในอุตสาหกรรมขั้นกลางยังมีการหล่อเหล็กกล้าให้เป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ เหล็กแท่งใหญ่ เหล็กแท่งยาว และเหล็กแท่งแบน
  • อุตสาหกรรมปลายน้ำ เป็นขั้นตอนของการแปรรูปผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปด้วยกระบวนการต่างๆ ซึ่งได้แก่ การเคลือบผิว การผลิตท่อเหล็ก การรีดเย็น การรีดร้อน การตีเหล็กเพื่อขึ้นรูป และรวมไปถึงการหล่อเหล็ก เช่น เหล็กลวด เหล็กเส้น เหล็กแผ่นเคลือบ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดร้อน-รีดเย็น เป็นต้น ซึ่งจะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต่อเนื่อง อาทิเช่น อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมเลเซอร์ และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

การขายเหล็กที่ไทยมีศักยภาพในการผลิต คือ ลวดเหล็กกล้า เหล็กเส้นก่อสร้าง เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนหรือด้วยไฟฟ้า และเหล็กแผ่นรีดเย็นชนิดเหล็กกล้าคาร์บอน เป็นต้น ซึ่งในบางชนิดมีศักยภาพในการผลิตมากพอที่จะส่งออก แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็อาจจะต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงจากสินค้าที่นำเข้ามา โดยเฉพาะจากจีน ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องมีการพัฒนากระบวนการผลิตและต้นทุนมากขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาสินค้าเพื่อให้ได้คุณภาพในการส่งออกมากขึ้น

สำหรับประเทศไทยอุตสาหกรรมขายเหล็กจะเป็นตัวช่วยพัฒนา และเสริมสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติได้ โดยที่อุตสาหกรรมจะต้องมีความสามารถในการต่อสู้กับตลาดเชิงพาณิชย์ และรักษาผู้ผลิตที่มีอยู่ภายในประเทศไว้ให้ได้ โดยอุตสาหกรรมขายเหล็กที่เข้มแข็งและสามารถอยู่รอด จะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการช่วยพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน การพาณิชย์ การก่อสร้างภาคอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง และพลังงาน https://smksteel.com/